เรื่องล่าสุด

วาไรตี้ท่องเที่ยว

มงคล 8 ประการ มงคลแห่งพุทธศาสนิกชน

มงคล 8 ประการ มงคลแห่งพุทธศาสนิกชน

มงคล 8 ประการหรือที่เรียนกันสั้นๆ ว่า มงคล 8 เป็นมงคลที่พุทธศาสนิกชนถือว่าเป็นมงคลภายนอก ไม่มีปรากฏในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นที่ยอมรับประพฤติปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย มงคล 8 ประการแบ่งแยกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ สิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล และสิ่งของที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของมงคล

[อ่านต่อเรื่องมงคล 8 ประการ มงคลแห่งพุทธศาสนิกชนต่อ…]

การบูชาเทพเจ้ากวนอู

การบูชาเทพเจ้ากวนอู

เทพเจ้ากวนอูเป็นเทพสัญลักษณ์แห่งความซื่อสัตย์ ความกัตตัญญูรู้คุณ ความจงรักภักดี และความกล้าหาญ การเคารพสักการะเทพเจ้ากวมอูนั้น เป็นประเพณีที่นิยมทำกันมาหลายพันปีแล้ว ซึ่งคติความเชื่อนั้นก็แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่น ซึ่งปกติไม่ได้มีข้อกำหนดไว้อย่างเคร่งครัด แต่ส่วนมากมักจะสักการะท่านด้วยน้ำชาหรือสุราก็มีรวมทั้งอาหารคาวหวานและผลไม้

ในลัทธิเต๋าอาจจะเซ่นไหว้ด้วยอาหารคาวหวาน แต่หากเป็นชาวพุทธนิกายมหายาน จะนิยมเซ่นไหว้ด้วยอาหารเจและผลไม้ และบางครั้งยังมีการเซ่นไหว้ม้าเซ็กเทาของเทพเจ้ากวนอูด้วยพืชผัก และผลไม้ต่างๆ อีกด้วย

[อ่านต่อเรื่องการบูชาเทพเจ้ากวนอูต่อ…]

คาถาบูชาพระแก้วมรกต

พระแก้วมรกต

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

 

พระแก้วมรกต

พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนสีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว เชียงราย [อ.เมือง เชียงราย] ในปี พ.ศ.1977 ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์

[อ่านต่อเรื่องคาถาบูชาพระแก้วมรกตต่อ…]

คาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิม

คาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิม

กวนอิม ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือ กวนอิน ตามสำเนียงกลางพระโพธิสัตว์ ของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เป็นองค์เดียวกันกับพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในภาษาสันสกฤตซึ่งมีต้นกำเนิดจากพระสูตรมหายานในอินเดีย และได้ผสมผสานกับความเชื่อพื้นถิ่นดั้งเดิมของจีน คือตำนานเรื่องพระธิดาเมี่ยวซ่าน ก่อให้เกิดเป็นพระโพธิสัตว์กวนอิมในภาคสตรีขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความอ่อนโยน และแสดงถึงความเมตตากรุณาให้เด่นชัดยิ่งขึ้นดังเช่นความรักของมารดาที่มีต่อบุตร

[อ่านต่อเรื่องคาถาบูชาเจ้าแม่กวนอิมต่อ…]

บทสวดขอพรพระตรีมูรติ+ความเชื่อเกี่ยวกับพระตรีมูรติ

พระตรีมูรติ

ความเชื่อเกี่ยวกับพระตรีมูรติ คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่าหากบูชา “พระตรีมูรติ” จะมีความหมายที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ทั้งในชีวิต ความรัก และการงาน แต่ในปัจจุบัน ได้รับการเทิดทูนจนกลายเป็นสัญลักษณ์ใหม่ ของการประทานความรัก โดยเทวรูป “ตรีมูรติ” ที่อยู่หัวมุมด้านซ้ายของห้างเซ็นทรัลเวิลด์(เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เก่า) ตรงข้ามกับพระพรหมที่โรงแรมเอราวัณ มักจะมีหนุ่มสาวจำนวนมากไปสักการบูชาและขอพรเกี่ยวกับความรัก หรือการขอพรให้มีบุตร

[อ่านต่อเรื่องบทสวดขอพรพระตรีมูรติ+ความเชื่อเกี่ยวกับพระตรีมูรติต่อ…]

คาถาอาราธนาพระเครื่อง

คำอารธนาพระเครื่อง

ตั้งนะโม3จบ

พุทธัง อาราธะนานัง ธัมมัง อาราธะนานัง สังฆัง อาราธะนานัง พุธธัง ประสิทธิ เม ธัมมัง ประสิทธิ เม สังฆัง ประสิทธิ เม

ให้ว่าคำอาราธนา 3 ครั้ง

คาถาอาราธนาพระเครื่อง คาถานี้ เมื่อท่านจะนำสร้อยพระหรือพระเครื่องติดตัวไปนอกบ้าน หรือเดินทางไปต่างถิ่นต่างแดน หรือถอดสร้อยพระเก็บไว้ ก่อนจะนำมาสวมอีกทีต้องกล่าวคำอาราธนาดังกล่าวนี้ คาถาอาราธนาพระเครื่อง เพื่อเชื่อเชิญให้พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ติดตามไปคุ้มครองภยันตรายให้กับตน

 

คำบูชาพระประจำวันเกิด

ประจำวันพฤหัส

ประจำวันอาทิตย์

วันอาทิตย์

พระพุทธรูปปางถวายเนตร มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืน ลืมพระเนตร พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันไว้ที่พระเพลา โดยที่พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย

คาถาสวดบูชา อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหะมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสนา ฯ

 

[อ่านต่อเรื่องคำบูชาพระประจำวันเกิดต่อ…]

คาถาบูชา ร.5 วันปิยมหาราช

พระปิยะมหาราช

วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น “วันปิยมหาราช” และเหตุนี้เองทำให้คนที่เคารพนับถือ สมเด็จพระปิยมหาราช ต่างพากับไปถวายเครืองสักการะ เพื่อขอพรให้ท่านคุ้มครอง ซึ่งนิยมไปกันที่ลานพระบรมรุปทรงม้า โดยสิ่งหลักๆ ที่นำไปสักการะบูชาได้แก่

[อ่านต่อเรื่องคาถาบูชา ร.5 วันปิยมหาราชต่อ…]

คำถวายกฐิน – ผ้าป่า

เพื่อเป็นการทำบุญสร้างกุศลตามทำเนียมของชาวพุทธที่สืบเนื่องมาช้านานจึงรวมคำถวายผ้ากฐิน ผ้าป่า มาให้คุณได้ทราบกันครับ

คำถวายผ้ากฐิน

” อิมัง มะยัง ภันเต, สะปะริวารัง, กะฐินะจีวะระทุสสัง, สังสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, สังโฆ, อิมัง สะปะริวารัง, กะฐินะทุสสัง, ปะฏิคคัณหาตุ, ปะฏิคคะเหตตะวาจะ, อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง, อัตถะระตุ, อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ นิพพานายะจะ ฯ “

[อ่านต่อเรื่องคำถวายกฐิน – ผ้าป่าต่อ…]