ใน ๑๒
ราศีจะมีดาวพระเคราะห์ครองอยู่ทั้งสิ้น
ดาวพระเคราะห์ที่ครองอยู่ตามราศีทั้ง
๑๒ ราศีนี้เรียกว่า เกษตร
มีดังนี้
อังคาร (๓)
เป็นเกษตรประจำราศีเมษ
และราศีพิจิก
ศุกร์ (๖)
เป็นเกษตรประจำราศีพฤกศก
และราศีตุลย์
พุธ (๔)
เป็นเกษตรประจำราศีเมถุน
และราศีกันย
จันทร์ (๒)
เป็นเกษตรประจำราศีกรกฎ
อาทิตย์ (๑)
เป็นเกษตรประจำราศีสิงห์
พฤหัสบดี (๕)
เป็นเกษตรประจำราศีมีน
เสาร์ (๗)
เป็นเกษตรประจำราศีกุมภ์
ตรียางค์
และนวางค์
ในหนึ่งราศีมีมุมกว้าง ๓๐
องศา แบ่งออกเป็นสามส่วน
แต่ละส่วนมีมุม กว้าง ๑๐ องศา
เรียกว่าตรียางค์ ทุกตรียางค์มีดาวพระเคราะห์ครองทำนองเดียวกับเกษตรในแต่ละราศี
ตรียางค์ที่หนึ่งเรียกว่า
ปฐมตรียางค์ ตรียางค์ที่สองเรียกว่าทุติยตรียางค์
ตรียางค์ที่สามเรียกว่าตติยตรียางค์
ในจักรราศีมี ๓๖ ตรียางค์ด้วยกัน
ในแต่ละตรียาค์
แบ่งออกเป็นสามนวางค์ แต่ละนวางค์มีมุม
กว้าง ๓ องศา ๒๐ ลิบดา
ดังนั้นในราศีหนึ่งจึงมีเก้านวางค์
แต่ละนวางค์มีดาวนพเคราะห์ครองเป็นเกษตร
เช่นเดียวกับในตรียางค์
และในราศี
นักษัตร์
(ฤกษ์)
นักษัตร์เป็นดาวอีกประเภทหนึ่ง
ซึ่งไม่ใช่ดาวพระเคราะห์
ประชุมกันอยู่ตามนวางค์ทั้ง
๑๐๘ นวางค์รอบจักรราศีมีทั้งหมด
๒๗ กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะอยู่ใน
๔ นวางค์
มีชื่อเรียกตามลำดับ จากอัสวินีฤกษ์จนถึงเรวดีฤกษ์
กลุ่มดาวฤกษ์ที่ ๑ คืออัสวินีนักษัตรนั้น
เริ่มตั้งแต่จุดแรกของราศีเมษ
ไปจนถึงกลุ่มดาวฤกษ์ที่ ๒๗
อันเป็นจุดสุดท้ายของ
เรวดีนักษัตร์ในราศีมิน
กลุ่มดาวฤกษ์ที่ประชุมอยู่ในสี่นวางค์
นวางค์แรกเรียกว่า ปฐมบาท
นวางค์ที่สองเรียกว่า
ทุติยบาท นวางค์ที่สามเรียกว่า
ตติยบาท และนวางค์ที่สี่เรียกว่า
จัตตุถบาท
กลุ่มดาวที่พระจันทร์โคจรผ่านเรียกว่า
ฤกษ์ พระจันทร์โคจรผ่านตลอด
๒๗ กลุ่มดาวฤกษ์ เป็นเวลา ๑
เดือน เรียกว่า จันทรคติกาล
ดาวพระเคราะห์ที่โคจรตามจักรราศีที่นำมาใช้ในวิชาโหราศาสตร์เดิมมีอยู่เพียงเจ็ดดวง
คือ
ดาวเสาร์ (เสารี)
ใช้แทนด้วย เลข ๗
ดาวพฤหัสบดี (ชีโว)
ใช้แทนด้วย เลข ๕
ดาวอังคาร (ภุมมะ)
ใช้แทนด้วยเลข ๓
ดาวอาทิตย์ (สุริชะ)
ใช้แทนด้วยเลข ๑
ดาวศุกร์ (ศุกระ)
ใช้แทนด้วยเลข ๖
ดาวพุธ (พุธา)
ใช้แทนด้วยเลข ๔
ดาวจันทร์ (จันเทา)
ใช้แทนด้วยเลข ๒
เป็นการเรียงลำดับ
จากไกลมาใกล้
ส่วนราหูกับเกตุ
ซึ่งใช้แทนด้วยเลข ๘ และเลข ๙
นั้น
เป็นเพียงเงาของดาวพระเคราะห์อันเนื่องจากการโคจรของดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์
ซึ่งเป็นวงรีมีระนาบเอียงทำมุม
ประมาณ ๕ องศา
จึงเกิดจุดตัดของแนวโคจรดังกล่าว
สองจุด
จุดทางทิศเหนือของโลกเรียกว่า
ราหู
จุดทางทิศใต้เรียกว่าเกตุ
ดังนั้นราหูกับเกตุ
จะโคจรมีระยะห่างกันเป็นมุม
๑๘๐
องศาตลอดเวลาในลักษณะที่เล็งกัน
ดาวพระเคราะห์ครองธาตุตามหลักทักษา
ธาตุที่สำคัญมีอยู่สี่ประการด้วยกันคือ
ธาตุไฟ ธาตุดิน ธาตุลม
และธาตุน้ำ
ธาตุไฟกับธาตุลมจัดไว้เป็นธาตุอกุศลธาตุ
ธาตุดินกับธาตุน้ำเป็นกุศลธาตุ
ธาตุทั้งสี่เข้าครองในภูมิพยากรณ์ทั้งแปดในลักษณะที่สลับกันระหว่างกุศลธาตุ
และอกุศลธาตุ
โดยเริ่มจากธาตุไฟคลองทิศอิสาน
ธาตุดินครองทิศบูรพา
ธาตุลมครองทิศอาคเณย์
ธาตุน้ำครองทิศทักษิณ
เรียงสลับกันไปตามลักษณะทักษิณาวัตร
บรรดาดาวพระเคราะห์ที่ครองอยู่ตามภูมิพยากรณ์ทั้งแปด
ก็จะครองธาตุที่ประจำอยู่ตามภูมิพยากรณ์นั้น
ๆ คือ อาทิตย์ครองธาตุไฟ
จันทร์ครองธาตุดิน
อังคารครองธาตุลม
พุธคลองธาตุน้ำ
เสาร์ครองธาตุไฟ
พฤหัสบดีครองธาตุดิน
ราหูครองธาตุลม
และศุกร์ครองธาตุน้ำ
ดาวเคราะห์ที่ครองธาตุเดียวกันเรียกว่า
ดาวคู่ธาตุ
สุริชะธาตุไฟกำหนดให้มีกำลังเท่ากับ
๑๒ อมฤตะ ธาตุน้ำ มีกำลัง ๑๖
ปาปะธาตุลมมีกำลัง ๒๒
โกลีธาตุดินมีกำลัง ๓๐
รวมกันแล้วมีกำลัง ๘๐
เรียกว่า อสีติธาตุ
อาทิตย์กับเสาร์คู่ธาตุไฟ
เข้าครองในราศีเมษธาตุไฟ
พุธกับศุกร์คู่ธาตุน้ำ
เข้าครองในราศี กรกฎ ธาตุน้ำ
อังคารกับราหู คู่ธาตุลม
เข้าครองในราศีตุลย์ ธาตุลม
จันทร์ กับพฤหัสบดี
คู่ธาตุดิน
เข้าครองในราศีมังกร
ธาตุดิน
ดาวพระเคราะห์ครองธาตุตามหลักโหราศาสตร์
ในหลักวิชาโหราศาสตร์
ได้แบ่งจักรราศีออกเป็น ๑๒
ราศี
และจัดดาวพระเคราะห์เข้าครองเป็นเกษตรทั้ง
๑๒ ราศี
และมีการจัดให้ธาตุทั้งสี่เข้าครองทั้ง
๑๒ ราศี
โดยวิธีเดียวกันกับที่จัดวางในภูมิพยากรณ์
คือให้กุศลธาตุอยู่สลับกับอกุศลธาตุ
เมื่อนับตามอุตราวรรต (เวียนซ้าย)
จะเป็นดังนี้
ราศีเมษธาตุไฟ ราศีพฤศภ
ธาตุดิน ราศีเมถุนธาตุลม
ราศีกรกฎธาตุน้ำ
ราศีสิงห์ธาตุไฟ
ราศีกันย์ธาตุดิน ราศีตุลย์ธาตุลม
ราศีพิจิกธาตุน้ำ
ราศีธนูธาตุไฟ
ราศีมังกรธาตุดิน
ราศีกุมภ์ธาตุลม
และราศีมีนธาตุน้ำ
ราศีที่มีอิทธิพลในภาคกลางวันได้แก่
ราศีสิงห์ กันย์ ตุลย์ พิจิก
ธนู และราศีมังกร
ราศีที่มีอิทธิพลในภาคกลางคืนได้แก่
ราศี กุมภ์ มีน เมษ พฤษภ เมถุน
และราศีกรกฎ
คู่มิตร
คู่ศัตรู ตามตำนานชาติเวร
การแบ่งดาวพระเคราะห์เป็น
คู่มิตร คู่ศัตรู
ตามหลักวิชาหมอดู
กำหนดตามตำนานชาติเวรของดาวพระเคราะห์ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์เฉลิมไตรภพ
มีดังนี้
ดาวที่เป็นคู่มิตรคือ
อาทิตย์กับพฤหัสบดี
จันทร์กับพุธ
ศุกร์กับอังคาร
และราหูกับเสาร์
ดาวที่เป็นคู่ศัตรูคือ
อาทิตย์กับอังคาร
พุธกับราหู ศุกร์กับเสาร์
และจันทร์กับพฤหัสบดี
คู่มิตร
คู่ศัตรู ตามหลักโหราศาสตร์
ดวงมูลตรีโกณหรือมูลเกษตร
เป็นตำแหน่งของดาวพระเคราะห์ที่ให้คุณ
เพราะเป็นดาวในตำแหน่งเกษตรนั่นเอง
ยกเว้นจันทร์ไปครองตำแหน่งอุจจ์ในราศีพฤกษภ
ตำแหน่งมูลเกษตรเป็นที่เกิดของดาวพระเคราะห์คู่มิตรคู่ศัตรู
ตามหลักโหราศาสตร์
ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ปาริชาติชาดก
ซึ่งแสดงไว้ว่า
อาทิตย์ราศีสิงห์
จันทร์ราศีพฤกษภ
อังคารราศีเมษ พุธราศีกันย์
พฤหัสบดีราศีธนู
ศุกร์ราศีตุลย์
เสาร์ราศีกุมภ์
เรียกว่าได้ตำแหน่งมูลตรีโกณ
หรือมูลเกษตร
การกำหนดดาวพระเคราะห์ที่เป็นคู่มิตรคู่ศัตรูกันนั้น
กำหนดจากตำแหน่งที่เป็นมูลตรีโกณของดาวพระเคราะห์นั้น
ๆ
พิจารณาจากเจ้าเรือนเกษตรของภพที่สอง
สี่ ห้า แปด เก้า
และภพที่สิบสอง
พร้อมทั้งดาวพระเคราะห์ที่เป็นเจ้าเกษตร
ราศีอุจจ์ของดาวในตำแหน่งมูลตรีโกณ
ดาวพระเคราะห์เกษตรในตำแหน่งดังกล่าวจะเป็นคู่มิตรกับดาวนั้น
บอกจากนั้นแล้วเป็นศัตรูทั้งสิ้น
สรุปได้ดังนี้
ดาวอาทิตย์
เป็นมิตรกับจันทร์
อังคารและพฤหัสบดี
เป็นกลางกับพุธ
เป็นศัตรูกับศุกร์ และเสาร์
ดวงจันทร์
เป็นมิตรกับอาทิตย์ และพุธ
เป็นกลางกับอังคาร
และพฤหัสบดี ศุกร์
และเสาร์ไม่เป็นศัตรูกับดาวอื่น
ดาวอังคาร
เป็นมิตรกับอาทิตย์ จันทร์
และพฤหัสบดี
เป็นกลางกับศุกร์และเสาร์
เป็นศัตรูกับพุธ
ดาวพุธ เป็นมิตรกับอาทิตย์
และศุกร์ เป็นกลางกับอังคาร
พฤหัสบดี และเสาร์
เป็นศัตรูกับจันทร์
ดาวพฤหัสบดี
เป็นมิตรกับอาทิตย์ จันทร์
และอังคาร เป็นกลางกับเสาร์
เป็นศัตรูกับพุธ และศุกร์
ดาวศุกร์
เป็นมิตรกับพุธและเสาร์
เป็นกลางกับอังคาร
และพฤหัสบดี
เป็นศัตรูกับอาทิตย์
และจันทร์
ดาวเสาร์ เป็นมิตรกับศุกร์
และพุธ เป็นกลางกับพฤหัสบดี
เป็นศัตรูกับอาทิตย์ จันทร์
และอังคาร
การพิจารณาดาวเคราะห์จร
การพยากรณ์ความเป็นไปของชีวิตจากดวงชะตา
ตามหลักวิชาโหราศาสตร์
ก็พยากรณ์จากดาวพระเคราะห์ที่โคจรใน
๑๒ ราศี
ส่งกระแสสัมพันธ์มาถึงดาวพระเคราะห์ในดวงชาตาตลอดจนลัคนาของผู้นั้น
มีหลักเกณฑ์ที่ใช้พิจารณาหลายนัยด้วยกันคือ
๑.
ให้พิจารณาจากลัคนาเป็นประการแรก
และสำคัญที่สุด
ตรวจดูว่าราศีที่ลัคนาสถิตนั้นมีดาวพระเคราะห์ใดบ้างที่ให้คุณ
และให้โทษ
๒.
ให้พิจารณาดาวเจ้าเรือนลัคน์ว่าโคจรไปอยู่ในตำแหน่งใด
เข้มแข็ง หรืออ่อนแอ
นอกจากนั้นให้ดูดวงเจ้าเรือนที่จันทร์ในดวงชาตาสถิต
ทำนองเดียวกับเจ้าเรือนลัคน์
๓.
ในราศีใดที่มีดาวพระเคราะห์โคจรไปต้องกัน
ให้พิจารณาดู
ดาวที่เป็นเกษตรในราศีนั้นด้วย
๔.
ดาวพระเคราะห์เดิมในดวงชะตา
เมื่อถูกดาวพระเคราะห์จรมาต้องส่งผลให้ในทางให้โทษ
ให้พิจารณาตำแหน่งของดาวพระเคราะห์เดิมในดวงชาตาที่ถูกเบียนนั้น
ตรวจดูสภาพที่กำลังเป็นดาวพระเคราะห์จรในขณะนั้น
๕. นอกจากที่กล่าวมาแล้ว
ถ้าหากในขณะนั้นเกิดมีจุดดับ
หรือจุดคราสมาถูกต้องในดวงชาตาก็นับว่าเป็นผลร้าย
จุดดับคือตำแหน่งของดาวพระเคราะห์
ยกเว้นราหู และเกตุ
ซึ่งโคจรเข้าร่วมกับอาทิตย์
มีองศาใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์
ประมาณ ๕ องศา
ถ้าเป็นจุดดับของพระจันทร์มีชื่อเรียกว่า
จุดอามาวสี
จุดดับของจันทร์ถ้าไปต้องดาวพระเคราะห์ใดเข้า
รวมทั้งลัคนาก็ถือว่าเป็นจุดเบียน
และจุดที่อาทิตย์กับจันทร์มีองศาเท่ากัน
ถือว่าดับสนิท
ถ้าไปเท่ากับองศาของลัคนา
หรือดาวพระเคราะห์ที่โคจรไปทับก็ถือว่าเป็นจุดเบียน
หากดาวพระเคราะห์ที่ดับเป็นดาวเกษตรเจ้าเรือนลัคน์
หรือเจ้าเรือนจันทร์ก็จะทำให้ชาตาในจังหวะนั้นไม่สู้ดี
ดาวพระเคราะห์ดวงใดที่โคจรเข้าไปสู่จุดดับ
ถือว่าดาวพระเคราะห์ดวงนั้นหมดกำลังต้านทาน
จุดคราส
เป็นจุดดับอีกประการหนึ่ง
ซึ่งรุนแรงกว่าจุดดับธรรมดา
และสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจุดดับของจันทร์
และจุดเพ็ญของจันทร์ที่เรียกว่า
ปุรณมี
ถ้ามีราหูร่วมหรือเล็งในระยะองศาใกล้เคียง
ภายในระยะองศาที่บังคับไว้ทำให้เกิดสุริยุปราคา
ขึ้นเรียกว่า จุดคราส
ถ้าจุดนี้ไปต้องลัคนา
หรือดาวพระเคราะห์ดวงใดในชาตา
จะเป็นด้วยการร่วมหรือเล็งก็ตามโดยมีองศาใกล้เคียงกันภายใน
๒๐๐ ลิบดา ดาวเกษตร์เจ้าเรือนลัคน์
ดาวเกษตรเจ้าเรือนจันทร์
ดาวเกษตร์เจ้าราศีที่อาทิตย์ในชาตากำเนิดสถิตอยู่ถือว่า
เป็นชาตาเข้าฆาฏระยะหนึ่ง
จะให้ผลร้ายเมื่ออังคารโคจรมาทับ
หรือมาเล็ง
จุดคราสอีกจุดหนึ่ง
คือจุดที่อาทิตย์กับจันทร์โคจรมาเล็งกันเป็นมุม
๑๘๐ องศา
ทำให้เกิดจุดเพ็ญขึ้น
แต่มีราหูเข้ามามีองศาร่วม
จะร่วมในราศีที่อาทิตย์สถิต
หรือจันทร์สถิตก็ได้
ทำให้เกิดจันทรุปราคาขึ้น
มีผลเช่นเดียวกับ
สุริยุปราคา
จุดเพ็ญ ถือว่าเป็นจุดดีจุดหนึ่ง
จันทร์เพ็ญโคจรไปร่วมกับดาวดวงใด
จะทำให้ดาวดวงนั้นมีกำลังขึ้น
ทั้งดาวพระเคราะห์เดิมในดวงชาตา
และดาวพระเคราะห์ที่กำลังโคจรในวิถีจักร
๖.
ดาวพระเคราะห์ที่จัดว่าให้คุณในดวงชาตา
เมื่อโคจรมาต้องตัวเองเข้าก็ถือว่าให้ผลดี
ตรงกันข้ามดาวพระเคราะห์ที่ให้โทษในดวงชาตา
เมื่อโคจรมาต้องตัวเองก็จะให้ผลร้าย
๗.
การพิจารณาผลจากดาวพระเคราะห์โคจรมาต้อง
ให้ตรวจดูว่าดาวดวงนั้นตั้งอยู่ในภพใดจากดาวนั้น
ก็จะให้คุณให้โทษตามสภาพของภพนั้น
ๆ
ดาวพระเคราะห์ครองทิศตามหลักโหราศาสตร์
ตำแหน่งของดาวพระเคราะห์ที่ครองใน
๑๒ ราศีนี้
ก็คือตำแหน่งของดาวพระเคราะห์ที่สถิตในราศีอุจจ์ของตนนั่นเอง
คือ อาทิตย์เป็นอุจจ์ในราศีเมษ
ทิศบูรพา อังคารเป็นอุจจ์ในราศีมังกรทิศทักษิณ
เสาร์เป็นอุจจ์ในราศีตุลย์ทิศประจิม
พฤหัสบดีเป็นอุจจ์ในราศีกรกฏทิศอุดร
สำหรับทิศเฉียงคือ ทิศอาคเณย์มีศุกร์เป็นอุจจ์อยู่ดวงเดียว
จึงเป็นดาวครองทิศอาคเณย์
ทิศหรดีมีราหูเป็นอุจจ์อยู่ดวงเดียว
จึงเป็นดาวครองทิศหรดี
ทิศพายัพมีพุธเป็นอุจจ์อยู่ดวงเดียว
จึงเป็นดาวครองทิศพายัพ ทิศอิสานมีจันทร์เป็นอุจจ์อยู่ดวงเดียวจึงเป็นดาวครองทิศอิสาณ
แต่คัมภีร์โหราศาสตร์หลายฉบับ
ได้แบ่งดาวพระเคราะห์เข้าครองทิศผิดไป
จากที่กล่าวแล้วในทิศพายัพ
อุดร และ อิสาณ
กล่าวคือให้จันทร์ครองทิศพายัพ
พุธครองทิศอุดร
และพฤหัสบดีครองทิศอิสาณ