เรื่องล่าสุด

วาไรตี้ท่องเที่ยว

บทนมัสการพระพุทธเจ้า

buddha

นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นโม ตสสฺ ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ทวน ๓ ครั้ง)

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

บทบูชาพระรัตนตรัย

บทสวด

บาลี

อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา พุทฺธํฺ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม ธมฺมํ นมสฺสามิ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ สงฺฆํ นมามิ

คำอ่าน

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ) สะหวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ) สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ)

คำแปล

สมเด็จพระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันต์ หมดจดจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง [อ่านต่อเรื่องบทบูชาพระรัตนตรัยต่อ…]

คาถาบูชาพระแก้วมรกต

พระแก้วมรกต

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (หรือ วัดพระแก้ว) ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร

 

พระแก้วมรกต

พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปที่แกะสลักจากหยกอ่อนสีเขียวดังมรกต เป็นพระพุทธรูปสกุลศิลปะก่อนเชียงแสนถึงศิลปะเชียงแสน หลักฐานที่ตรงกันระบุว่าพบครั้งแรก ประดิษฐานอยู่ในเจดีย์วัดป่าญะ เมืองเชียงราย (ปัจจุบันคือวัดพระแก้ว เชียงราย [อ.เมือง เชียงราย] ในปี พ.ศ.1977 ฟ้าได้ผ่าลงองค์พระเจดีย์จนพังทลายลง จึงพบพระพุทธรูปพอกปูนลงรักปิดทอง จึงได้นำไปไว้ในวิหาร ต่อมาปูนบริเวณพระนาสิกเกิดกระเทาะออก เห็นเป็นเนื้อมรกต จึงกระเทาะปูนออกทั้งองค์ เห็นเป็นเนื้อหยกสีมรกตทั้งองค์

[อ่านต่อเรื่องคาถาบูชาพระแก้วมรกตต่อ…]

บทสวดขอพรพระตรีมูรติ+ความเชื่อเกี่ยวกับพระตรีมูรติ

พระตรีมูรติ

ความเชื่อเกี่ยวกับพระตรีมูรติ คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่าหากบูชา “พระตรีมูรติ” จะมีความหมายที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ทั้งในชีวิต ความรัก และการงาน แต่ในปัจจุบัน ได้รับการเทิดทูนจนกลายเป็นสัญลักษณ์ใหม่ ของการประทานความรัก โดยเทวรูป “ตรีมูรติ” ที่อยู่หัวมุมด้านซ้ายของห้างเซ็นทรัลเวิลด์(เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์เก่า) ตรงข้ามกับพระพรหมที่โรงแรมเอราวัณ มักจะมีหนุ่มสาวจำนวนมากไปสักการบูชาและขอพรเกี่ยวกับความรัก หรือการขอพรให้มีบุตร

[อ่านต่อเรื่องบทสวดขอพรพระตรีมูรติ+ความเชื่อเกี่ยวกับพระตรีมูรติต่อ…]

คำบูชาพระประจำวันเกิด

ประจำวันพฤหัส

ประจำวันอาทิตย์

วันอาทิตย์

พระพุทธรูปปางถวายเนตร มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปยืน ลืมพระเนตร พระหัตถ์ทั้งสองประสานกันไว้ที่พระเพลา โดยที่พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย

คาถาสวดบูชา อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง เย พราหะมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสนา ฯ

 

[อ่านต่อเรื่องคำบูชาพระประจำวันเกิดต่อ…]

คาถาบูชา ร.5 วันปิยมหาราช

พระปิยะมหาราช

วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” ซึ่งมีความหมายว่า “พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน” ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น “วันปิยมหาราช” และเหตุนี้เองทำให้คนที่เคารพนับถือ สมเด็จพระปิยมหาราช ต่างพากับไปถวายเครืองสักการะ เพื่อขอพรให้ท่านคุ้มครอง ซึ่งนิยมไปกันที่ลานพระบรมรุปทรงม้า โดยสิ่งหลักๆ ที่นำไปสักการะบูชาได้แก่

[อ่านต่อเรื่องคาถาบูชา ร.5 วันปิยมหาราชต่อ…]

คำถวายกฐิน – ผ้าป่า

เพื่อเป็นการทำบุญสร้างกุศลตามทำเนียมของชาวพุทธที่สืบเนื่องมาช้านานจึงรวมคำถวายผ้ากฐิน ผ้าป่า มาให้คุณได้ทราบกันครับ

คำถวายผ้ากฐิน

” อิมัง มะยัง ภันเต, สะปะริวารัง, กะฐินะจีวะระทุสสัง, สังสสะ, โอโณชะยามะ, สาธุ โน ภันเต, สังโฆ, อิมัง สะปะริวารัง, กะฐินะทุสสัง, ปะฏิคคัณหาตุ, ปะฏิคคะเหตตะวาจะ, อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง, อัตถะระตุ, อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ นิพพานายะจะ ฯ “

[อ่านต่อเรื่องคำถวายกฐิน – ผ้าป่าต่อ…]