ระยะหลังมานี้ ผู้คนเต็มไปด้วยปัญหาชีวิตรุมเร้า ทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาทางสังคม ทำให้หลายคนขาดที่พึ่งทางใจ ‘ธรรมะของพระพุทธองค์’ ซึ่งเป็นนามธรรมจึงถูกมองข้ามและหันไปยึดถือสิ่งที่เป็นวัตถุนิยมเสียมากกว่า
“ต้องบูชาอะไรจึงจะเกื้อหนุนและส่งผลดีต่อดวงชะตา?” คือ อีกหนึ่งคำถามที่ดิฉันต้องตอบเป็นประจำ แท้ที่จริงแล้วการไหว้พระบูชาวัตถุมงคล หรือแม้แต่การบูชาเทพ ต่างก็เป็นอุบาย ซึ่งสร้างให้เห็นเป็นรูปธรรมนำมายึดเหนี่ยวจิตใจเพื่อการประกอบกรรมดีทั้ง สิ้น ทั้งยังป็นหนทางในการศึกษาธรรมะผ่านทางวัตถุที่เรานับถือ
ดัง นั้นความสำคัญไม่ได้อยู่ที่เราศึกษาธรรมะโดยตรงจากพระไตรปิฏกได้เพียงอย่าง เดียวเท่านั้น และสำคัญที่ว่าเราปฏิบัตินอย่างไรแล้วทำให้ใจเราและคนรอบข้างเป็นสุข โดยนำสิ่งรอบตัวมาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจมากกว่า อีกทั้งยังเป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้เราพ้นทุกข์ได้ แม้จะไม่ใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์โดยตรงก็ตาม แต่ก็เป็นอุบายแห่งการเริ่มต้นประกอบกรรมดี เพื่อเป็นทางนำไปสู่นิพพานในอนาคต
ยิ่งถ้าเป็นช่วงเทศกาล (เช่น เทศกาลปีใหม่ ตรุษจีน…)หลายคนต่างเตรียมตระเวนกราบไหว้ขอพรพระ-บูชาเทพ อันเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจดังที่กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้นจึงขออนุญาตหยิบยกเรื่องการบูชาเทพมาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งก็มีความใกล้เคียงกับการไหว้พระ แต่การบูชาเทพนั้นน้อยคนจะเข้าใจว่าบูชาไปเพื่ออะไร แต่ละองค์มีความหมายอย่างไร ใครว่าดีก็เห่อและแห่ตามเขาไป ผิดบ้าง ถูกบ้าง โดยไม่ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน
ว่า ไปแล้วตำนานการสร้างเทพเจ้าในพุทธศาสนาได้มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล โดยทั่วไปจะเป็นคติความเชื่อแบบพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งจะมีการสร้างรูปเทพเจ้าในรูปแบบของพระโพธิสัตว์ เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร หรือเจ้าแม่กวนอิม เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ยังมีอิทธิพลที่เน้นเรื่องราวของทวยเทพต่างๆ ตามคติความเชื่อและความกลัว แล้วจินตนาการในลัษณะขององค์เทพ เช่น องค์เทพแห่งดินคือพระแม่ธรณี
ส่วน การสร้างในวัดของพุทธศาสนา [อ่านต่อเรื่องบูชาเทพ เสริมดวงให้เกิดสุขต่อ…]