คชลักษณศาสตร์
คชลักษณศาสตร์
ตำราพรหมชาติฉบับสมบูรณ์
โดย สำนักพิมพ์อำนาจสาส์น
คชลักษณศาสตร์
ตำรับมงคลลักษณะหัตถี ว่าด้วยช้างที่เป็นสวัสดิมงคล
สิทธิการิยะ ฯ ลักษณะช้างที่เป็นมงคลควรเลี้ยงไว้ในบ้านเรือน
หรือใช้งานนั้น ท่านกล่าวไว้ตามตำรามีด้วยประการดังต่อไปนี้
1.
ตาขาว
กล่าวคือมีดวงตาขาวเรื่อ ๆ โดยทั่วไป เสมือนตาน้ำข้าว
เฉพาะแก้วตาหรือที่เรียกว่าตาดำนั้น ใสเรืองรองเป็นประกายแก้วผลึก
2.
เพดานขาว กล่าวคือ มีเพดานปากขาวดุจเนื้อในของเผือกมัน
หากจะดำหรือแดงก็เป็นค่อนข้างขาว โดยเสมอกัน
3.
เล็บขาว
กล่าวคือ มักมีเล็บขาวเสมือนงาของมันเองทั้งหมด ขอบหนังหุ้มเล็บ สม่ำเสมอกัน
4.
พื้นหนังขาว หรือคล้ายหม้อดินใหม่ กล่าวคือ พื้นหนังทั่วสรรพางค์กาย
แม้จะไม่แลเห็นเป็นสีเผือกเหมือนควายเผือกก็ตาม
แต่จะต้องออกสีเป็นคล้ายหม้อดินที่ใหม่ ๆ
ยังไม่ได้ใช้เลยฉะนั้น
5.
ขนหางยาว กล่าวคือ ขนที่หางยาวเป็นพวงพุ่มลดหลั่นกันเกือบถึงน่องตอนล่าง
ระหว่างส้นเท้าหลัง
6.
ขนขาว
กล่าวคือ มีขนทั่วสรรพางค์กายขาวหรือนวล แต่ละขุมขนมีเส้นออกมา สม่ำเสมอกัน ขุมละ 1
เส้น และยาวสม่ำเสมอกันทั่วกาย
7.
อัณฑโคตร์ขาว หรือคล้ายหม้อดินใหม่ กล่าวคือ
มีของลับเมื่อแข็งตัวโผล่ออกมาจากเบ้าจะขาวหรือสีเป็นดุจเนื้อเผือกมัน
หรือดุจสีหม้อดินใหม่ ซึ่งมีค่อนข้างแดงอ่อน
หมายเหตุ
ลักษณะช้างมงคลทั้ง 7
นี้ ใช้ได้สำหรับช้างทั้ง 2 เพศ พึงเข้าใจว่า ช้างตัวผู้ท่านเรียกว่า
ช้างพลาย
ช้างตัวเมีย ท่านเรียกว่า ช้างพัง) งาของช้างตัวเมีย
ท่านไม่นิยมเรียกว่างา
แต่นิยมเรียกว่า ขนาย
เพราะมันสั้นเพียงริมฝีปากช้างปิดเท่านั้น ยาวไม่เกินคืบ
ลักษณะช้างเผือกงาเนียม
ช้างเผือกงาเนียม เป็นช้างที่นับว่าเป็นมงคลชนิดหนึ่ง
นับว่าเป็นช้างที่หายากมาก ในประเทศไทย ไม่มีเลย
แต่เคยปรากฏว่า เคยได้งาช้างประเภทนี้ไว้กล่าวคือ งาสีดำ
อยู่ที่ศาลากลางจังหวดน่านในปัจจุบัน ชาวเมืองน่านนับถือเป็นงาช้างคู่บ้านคู่เมือง
สืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ช้างชนิดนี้ลักษณะ 3 ประการคือ
1.
พื้นหนังตามสรรพางค์กายดำ กล่าวคือ หนังไม่ถึงกับดำสนิท นักค่อนข้างออกเป็นสีแดง
2.
งามีลักษณะดังรูปปลีกด้วย กล่าวคือ งาเป็นท่อนใหญ่ไม่สู้ยาวนัก
แต่ค่อนข้างใหญ่กว่าช้างพลายธรรมดาทั่วไป
3.
เล็บดำ
กล่าวคือ มีเล็บออกเป็นสีดำสนิททั่วไป
ต่างกับช้างธรรมดาทั่วไปตรงที่ช้างธรรมดามีเล็บดำ ๆ ด่าง ๆ มีสีไม่เสมอกัน
แต่ช้างชนิดดังกล่าวจะออกเป็นสีดำสนิทตลอดทั้ง 4 เท้า
ตระกูลช้างมงคล 10 ประการ
ช้างมงคลที่นับว่า จะทำให้เจ้าของผู้นี้ไว้ใช้หรือเลี้ยงไว้ประดับบุญญาบารมี
อันจะก่อให้เกิดความสุขความเจริญ เป็นสวัสดิมงคลแก่ตนและครอบครัวนั้น
ท่านกล่าวไว้ในตำรามี 10 ชนิด ดังนี้
1.
ฉัททันต์หัตถี เป็นช้างที่มีลักษณะ เท้าแดง 1 ปากแดง 1 ตัว ขาวเผือกงาม
บริสุทธิ์ประดุจสีเงินยวง 1
2.
อุโบสถหัตถี เป็นช้างที่มีสีกายเหลืองอร่าม ประดุจสีทอง
3.
เหมหัตถี เป็นช้างที่มีกาย ประดุจสีทอง
4.
มงคลหัตถี เป็นช้างที่นับว่าเป็นมิ่งมงคล มีสีกายดำปนเขียวประดุจนิลอัญชัน
ถ้าไปอยู่บ้านเมืองใด เมืองนั้นบ้านนี้นจะมีแต่ความสุขความเจริญต่อไป
5.
คันธหัตถี เป็นช้างมีสีกายตัวดับไม้กฤษณา สังเกตได้ง่ายมาก คือมีกลิ่นผิวกายหอม 1
มูล ที่ถ่ายออกมาหอม 1
6.
ปิงคลหัตถี
เป็นช้างมีหนังผิวกายสีทองแดง ตาค่อนข้างเผือกออกเป็นแดง ขนห่างแลดูคล้ายดอกบัวแดง
7.
ปัณฑรหัตถี เป็นช้างที่มีสีกายดุจเขาไกรลาศ กล่าวคือ
มีหนังและขนขาวเลื่อมเป็นมันดุจสีหิมะที่ตกปกคลุมยอดเขาที่ต้องแสงอาทิตย์
ในตอนรุ่งอรุณ
8.
คังไคยหัตถี เป็นช้างที่เกิดอยู่ในเขตหัวเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้กับแม่น้ำคงคา
(ในประเทศอินเดีย)
9.
กาฬวกหัตถี เป็นช้างมีสีกาย ผิวหนังและขุมขนทั่วสรรพค์กายประดุจสีปีกกา
หรือตระกูลช้างที่เกิดใกล้เขากาฬคีรี (ในประเทศอินเดีย)
หมายเหตุ
สำหรับช้างเผือก ที่อยู่ในสวนสัตว์เขาดินนวนา กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีนามว่า
พระเศวตอดุลยเดชพาหน
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ปัจจุบันนี้เป็น
ตระกูลช้างตามพหัตถี นับเป็นช้างเผือกพันธุ์พราหมณ์พงศ์ปัจจุบันมีอายุ 19 ปี
สีกายคล้ายดอกบัวแดง เสียงดังประดุจศัพท์แตรงอน กำเนิดที่คลองท่อม จังหวัดกระบี่
ภาคใต้ของประเทศไทย พบว่าเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2501
|