ดูเอเซีย.คอม ข้อมูลท่องเที่ยว ทั่วไทย ทริปท่องเที่ยว แผนที่ 77 จังหวัด การเดินทาง จองโรงแรม จองตั๋วเครื่องบิน สถานที่ท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
  บทความต่างประเทศ
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี


ดูดวง > ตำราพรหมชาติ > คาถาพระชินบัญชร ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม


คาถาพระชินบัญชร  ของสมเด็จพระพุฒ

คาถาพระชินบัญชร  ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม

ตำราพรหมชาติฉบับสมบูรณ์

โดย สำนักพิมพ์อำนาจสาส์น

 

คาถาพระชินบัญชร  ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม

 

ชะยาสะนากะตา พุทธา       เชตวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจาสะภัง ระสัง         เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

ตัณหังกะราทะโย พุทธา      อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง       มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง      อุเร สัพพะคุณากะโร.

หะทะเย เม อะนุรุทโธ        สารีปุตโต จะทักขิเณ
โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง    โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง       อาสุง อานันทะ ราหุโล
กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุภาสุง วามะโสตะเก.

เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง        สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน          โสภิโต มุนิปุงคะโว

 

กุมาระกัสสโป เถโร           มะเหสี จิตตะ วาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง       ปะติฏฐาสิคุณากะโร.

ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ          อุปาลี นันทะ สีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา        นะลาเต ติละกา มะมะ.

เสสาสีติ มะหาเถรา            วิชิตา ชินะสาวะกา
เอเตสีติ มะหาเถรา            ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะลันตา สีละเตเชนะ           อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

ระตะนัง ปุระโต อาสิ            ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ         วาเม อังคุลิมาละกัง

ขันธะโมระปะริตตัญจะ         อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ           เสสา ปาการะสัณฐิตา

ชินา นานาวะระสังยุตตา         สัตตัปปาการะ ลังกะตา
วาตะปิตตาทะสัญชาตา          พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

อะเสสา วินะยัง ยันตุ            อะนันตะชินะ เตชะสา
วะสะโต เม สะกิจเจนะ          สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ           วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ        เต มะหาปุริสาสะภา.

 

อิจเจวะมันโต            สุคุตโต สุรักโข
ชินานุภาเวนะ           ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ          ชิตาริสังโฆ
สังฆานุภาเวนะ          ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต   จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.

 

พระชินบัญชรคาถาแปล

 

                พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่าใด ผู้ไม่ต้องทำสายธนูและลูกศร ก็ทรงชนะมารพร้อมทั้งพาหนะ ทรงเป็นผู้เลิศในนรชน ทรงดื่มรสสัจจะ 4 อันเลิศฯ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น 28 องค์ มีพระตัณหังกระ เป็นต้น เป็นพระมุนีเจ้าผู้นำโลกทุกพระองค์ ประดิษฐานอยู่บนกระหม่อมของข้าพเจ้าฯ พระพุทธองค์ทรงประดิษฐานอยู่ที่ศีรษะของข้าพเจ้าฯ พระธรรมเจ้าประดิษฐานอยู่ที่ตาทั้งสองฯ พระสงฆ์เจ้าผู้เป็นอากรแห่งคุณทั้งปวง ประดิษฐานอยู่ที่อุระประเทศของข้าพเจ้าฯ พระอนุรุทธะประดิษฐานอยู่ที่หทัยฯ พระสารีบุตรประดิษฐานอยู่ ณ เบื้องขวาฯ พระโกณฑัญญะประดิษฐานอยู่ ณ เบื้องหลังฯ พระโมคคัลลานะประดิษฐานอยู่ ณ เบื้องซ้ายฯ พระอานนท์ และพระราหุลประดิษฐานอยู่ ณ หูขวาของข้าพเจ้าฯ พระกัสสปและพระมหานามะทั้งสองประดิษฐานอยู่ ณ หูซ้ายฯ พระโสภิตะผู้ถึงพร้อมพระสิริเป็นพระมุนีผู้ประเสริฐเพียงดังดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างประทับ ณ ที่สุดผมส่วนเบื้องหลังพระกุมารกัสสปเถระ ผู้มหาฤาษีผู้กล่าวคำอันวิจิตรเป็นบ่อเกิดแห่งคุณนั้นประดิษฐานที่ปากของข้าพเจ้าเป็นนิตย์ฯ พระเถระ 5 พระองค์ ผู้มีคุณเด่นเหล่านี้ คือ พระปุณณะ 1 พระองคุลีมาล 1 พระอุบาลี 1 พระอานันทะ 1 พระสิวลี 1 อยู่ที่หน้าผากของข้าพเจ้าฯ พระมหาเถระแปดสิบพระองค์ที่เหลือผู้ชนะผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ชนะรุ่งเรืองอยู่ด้วยเดช คือ ศีลสถิตอยู่ที่ ณ อวัยวะใหญ่น้อยทั้งหลาย พระรัตนะปริตรอยู่เบื้องหน้าฯ พระองคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้ายฯ พระธัคคปริตรอยู่เบื้องหลังฯ พระเมตตาสุตตปริตรอยู่เบื้องขวาฯ พระขันธปริตร พระโมระปริตร พระอาฏานาฏิยสุตตปริตร เป็นหลังคาเครื่อง ปิดกั้นในอากาศฯ พระปริตรที่เหลือนั้นเป็นกำแพงฯ ผู้ชนะทั้งหลายผู้ประกอบพร้อมด้วย กำลังต่าง ๆ ประกอบเป็นกำแพงเจ็ดชั้นฯ อาพาธทั้งหลายเกิดจากลมและดีกำเริบเป็นต้น อุปัทวะภายนอกภายใน จงถึงความพินาศไปไม่เหลือ ด้วยเดชแห่งประพุทธเจ้า ผู้ชนะไม่มีที่สิ้นสุด

 

                เมื่อข้าพเจ้ากล่าวบัญชรช่องพระสัมพุทธเจ้าตามกิจของตนอยู่ทุกเมื่อ ขอพระพุทธเจ้าผู้มหาบุรุษประเสริฐเหล่านั้นทั้งหมด จงอภิบาลรักษาข้าพเจ้าอยู่ในท่ามกลางแห่งบัญชร คือ วงเขตอันกว้างใหญ่ไพศาลเพียงดังพื้นแผ่นดิน ทุกเมื่อ

 

                พระชินบัญชรมนต์คุ้มครองดี รักษาดี ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้ชนะอุปัทวะด้วยอานุภาพแห่งพระสัมพุทธเจ้าผู้ชนะ เป็นผู้ชนะแห่งข้าศึกด้วยอานุภาพแห่งพระธรรมเจ้า เป็นผู้ชนะอันตรายด้วยอานุภาพแห่งพระสงฆ์เจ้า เป็นผู้อันอานุภาพแห่งพระธรรมอภิบาลรักษาแล้ว ประพฤติอยู่เทอญฯ

 

                หมายเหตุ นอกจากพระรัตนตรัย ยังมีพระตัณหังกร พระอนุรุทธะ พระสารีบุตร พระโกณฑัญญะ พระโมคคัลลานะ พระอานนท์ พระราหุล พระกัสสปะ ระมหานามะ พระโสภิตะ พระปุณณะ พระองคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ พระสิวลี พระรัตนปริตร พระขันธปริตร พระโมระปริตร พระอาฏานาฏิยสุตตปริตร พระมุนีฤาษีทั้งหลายทั้งปวงที่เชี่ยวชาญด้วยพระเวทย์

 

                พระสาวกของพระพุทธเจ้าที่กล่าวมาแล้วนี้ล้วนแต่เป็น “พระอรหันต์” ซึ่งตบะเดชฤทธานุภาพสามารถที่จะทรมานสัตว์ และมนุษย์ที่มีจิตใจเป็นพาลสันดานหยาบให้สำนึกในพระไตรสรณคมน์ และบางพระองค์มีอานุภาพในทางเมตตามหานิยม ทรงบันดาลใจให้ปราศจากโรคภัยสมบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ บางพระองค์มีพระสรีระอันสิริโฉม โน้มน้าวจิตใจผู้กราบไหว้บูชาให้มีจิตเสน่หารักใคร่ บางพระองค์มีพระสรีระร่างอันแข็งแรง อดทนคงกระพันชาตรี เป็นที่เกรงขามระย่นย่อต่อศัตรู บางพระองค์มีความกตัญญูกตเวทิตาธรรมเป็นยอดเยี่ยม พระอรหันต์เหล่านี้ย่อมมีอานุภาพต่าง ๆ กันในพระองค์เอง และเมื่อทูลอัญเชิญมาประดิษฐานในตัวของท่านผู้ใดแล้วผู้นั้นก็จะได้รับอานุภาพต่าง ๆ ตามที่พระองค์มีอยู่ คำแปลในพระคาถาชินบัญชรนี้ ปรากฏว่าได้อัญเชิญพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งปวงเข้าประดิษฐานอยู่ประจำตัวเราทุกส่วน ทั้งได้เชิญให้มารักษาอยู่รอบกาย จึงเป็นเสมือนกำแพงแก้วเจ็ดชั้น ซึ่งคอยกำจัดปัดเป่าและกั้นศัตรูหมู่ปัจจามิตรมิให้เข้ามาใกล้กรายและทำอันตรายได้ ท่านผู้ใดมีพระพิมพ์สมเด็จติดตัวไว้ และเจริญพระคาถาชินบัญชรนี้จะบังเกิดอภินิหาร บังเกิดเมตตามหานิยมในที่ต่าง ๆ บำบัดโรคภัยไข้เจ็บทุกอย่าง บันดาลให้เกิดเสน่หาป้องกันให้แคล้วคลาดสรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย สรรพอันตรายกันและแก้กฤตยาคุณคนคุณไสยศาสตร์และคุณภูมิผีปีศาจทั้งมวล และสมบูรณ์ด้วยทรัพย์ศฤงคารทั้งปวง

 

                พระคาถาอันวิเศษนี้  เป็นคาถาที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆังได้ใช้อยู่เป็นประจำตลอดพระชนมายุของท่าน จนเรียกกันเป็นที่ติดปากว่า “พระคาถาชินบัญชร ของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง” แท้ที่จริงพระคาถานี้ได้มานานแล้ว เท่าที่ค้นพบมีอยู่ในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราชสมัยอยุธยา พระคาถานี้ผู้ใดพยายามท่องให้จำได้ และหมั่นสวดมนต์จำเริญภาวนาอยู่เสมอ ๆ อย่างน้อยให้ได้วันละ 1 จบ จะบังเกิดลาภ ยศ สรรเสริญ และเจริญพระชนมายุสำเร็จในสิ่งอันพึงปรารถนาที่ชอบธรรม สรรพศัตรูทั้งหลายแพ้พ่ายกลายเป็นมิตร สรรพอันตรายทั่วทิศแคล้วคลาดปราศจากภัยพิบัติ แก้คุณไสยศาสตร์การกระทำทั้งสิ้น แก้สิ่งชั่วร้ายกลายเป็นดี ถ้ายิ่งหมั่นมีความอุตสาหะบริกรรมปลุกเสกพระเครื่องรางของขลัง อยู่เป็นนิจจักเพิ่มพูนอานุภาพ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ยิ่ง ๆ ขึ้น

 


 
 
สายการบินสำหรับท่องเที่ยวไทย เขมร ลาว เวียดนาว พม่า
สายการบิน เว็บไซต์ เบอร์โทรจองตั๋ว
แอร์เอซีย http://www.airasia.com/ 02-519-9999
การบินไทย http://www.thaiairways.co.th/ 02-356-1111
การบินลาว http://www.laoairlines.com 02-236-9822
บางกอกแอร์เวล์ http://www.bangkokair.com/ 1771
เจ็ตสตาร์ http://www.jetstar.com ราคาถูกไม่แพงจองทางเว็บไซต์
เวียดนามแอร์ไลน์ http://www.vietnamairlines.com/ บินภายในประเทศเวียดนามไม่แพง
เว็บไซต์จำเป็นสำหรับท่องเที่ยว ไทย เขมร ลาว กัมพูชา พม่า
 
เว็บท่องเที่ยวไทย เว็บท่องเที่ยวลาว เว็บท่องเที่ยวเวียดนาม เว็บท่องเที่ยวกัมพูชา
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวเวียดนาม การท่องเที่ยวกัมพูชา
กรมป่าไม้ มหาสาน.คอม อันดับหนึ่งพอลทัลเวียดนาม ข่าวอันดับหนึ่งของกัมพูชา
ทัวร์ไทย LaosFriends หาเพื่อนชาวลาว ข่าวเวียดนามอันดับหนึ่ง ข้อมูลเที่ยวแม่โขง
  เวียงจันทร์ไทม์ข่าวสารเมืองลาว หาเพื่อนชาวเวียดนาม หาเพื่อนกัมพูชา
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์